เมื่อเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก
ในความผิดฐาน
“ลักทรัพย์”
ครูไม่ใช่มีหน้าที่เฉพาะสอนหนังสือหรือ จัดการศึกษาเท่านั้น แต่มีหน้าที่จัดการศึกษาอบรมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สู่คุณธรรม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และคุณธรรม จริยธรรม ผู้ที่เป็นครูจึงต้องเป็นแบบอย่างในการดำที่รับผิดชอบต่อสังคมและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ข้อเท็จจริง นาง ส. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย เคยมีคำพิพากษาคดีอาญา ข้อหาลักทรัพย์ เป็นทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๗ รายการ เป็นเงิน ๑,๒๔๒ บาท โดยขณะเกิดเหตุนาง ส. มีอายุ ๒๔ ปี เป็นผู้สอบแข่งขันได้และขึ้นบัญชีผู้สอบได้ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุก ๔ เดือน ปรับ ๒,๐๐๐ บาทจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษจำคุก ๒ เดือน ปรับ ๒,๐๐๐ บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้ ๒ ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ ๑ ปี คดีถึงที่สุดจึงขอหารือว่า นาง ส. จะเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปในการเข้ารับราชการเป็นข้าราชและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา ๓๐ (๗) และมาตรา ๓๐ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือไม่ อย่างไร
กรอบของวินัยข้าราชการ
ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงย่อมต้องมีมาตรฐานทางด้านความประพฤติที่เหนือกว่าผู้ประกอบอาชีพอื่น ทั้งยังต้องวางตนเป็นแบบอย่างในการรักษาเกียรติคุณ ชื่อเสียง ให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้เรียนชุมชน และสังคมครู ต้องเป็นแบบอย่างในการดำที่รับผิดชอบต่อสังคมและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขครูไม่ใช่มีหน้าที่เฉพาะสอนหนังสือหรือจัดการศึกษาเท่านั้น แต่มีหน้าที่จัดการศึกษาอบรมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สู่คุณธรรม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และคุณธรรม จริยธรรม
มติ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วางหลักไว้ว่า
ประเด็นที่หนึ่ง การจะเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา๓๐(๑0) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ผู้นั้นจะต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หมายถึงถูกจำคุกจริง มิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกแต่รอการลงโทษไว้ ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรา ๓๐ (๑๐)เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิของบุคคลในการประกอบอาชีพ จึงต้องตีความถ้อยคำอย่างเคร่งครัด ดังนั้น การที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกนาง ส. ๒ ปีปรับ ๒,000 บาท โดยโทษจำคุกรอการลงโทษไว้ ๒ ปี จึงต้องถือว่านาง ส. มิได้ถูกจำคุกจริง และไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓0 (๑๐)
ประเด็นที่สอง การจะเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา ๓๐ (๗)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติกรรมในแต่ละกรณีเป็นเรื่อง ๆ ไปโดยคำนึงถึงเกียรติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบกับความรังเกียจของสังคมเป็นหลัก เพราะครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงย่อมต้องมีมาตรฐานทางด้านความประพฤติที่เหนือกว่า ผู้ประกอบอาชีพอื่น ทั้งยังต้องวางตนเป็นแบบอย่างในการรักษาเกียรติคุณ ชื่อเสียง ให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้เรียนชุมชน และสังคมอีกด้วย การที่นาง ส. ลักทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๗ รายการเป็นเงินจำนวน ๑,๒๔๒ บาทโดยขณะเกิดเหตุนาง ส. มีอายุ ๒๔ ปี เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ ทั้งยังเป็นผู้สอบแข่งขันได้และขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาเอกคณิตศาสตร์ตามประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษานาง ส. จึงควรมีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี แต่กลับลงมือลักทรัพย์ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาจนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล และมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่านาง ส. กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นที่รังเกียจแก่สังคมและวิญญูชนทั่วไปไม่เหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพครูที่จะต้องเป็นแบบอย่างอันดีของสังคมและเยาวชนของชาติ เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นครูไม่ใช่มีหน้าที่เฉพาะสอนหนังสือหรือ จัดการศึกษาเท่านั้น แต่มีหน้าที่จัดการศึกษาอบรมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สู่คุณธรรม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และคุณธรรม จริยธรรม ผู้ที่เป็นครู จึงต้องเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตที่รับผิดชอบต่อสังคมและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้น นาง ส. จึงเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา ๓0 (๗) เทียบเคียง.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา๔/๒๕๕๔
คือ คำนึงถึงระดับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
* ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง กำหนดโทษสถานหนัก
* ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กำหนดโทษสถานเบา
* ความผิดวินัยเล็กน้อย จะงดโทษให้ก็ได้
(ว่ากล่าวตักเตือน ทัณฑ์บน)
2. หลักความเป็นธรรม
คือการวางโทษจะต้องให้ได้ระดับเสมอหน้ากัน ใครทำผิดก็จะต้องถูกลงโทษ
งานส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการรักษาวินัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต ๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้จัดทำ
นายณัฐวุฒิ คงเปี่ยม นิติกรชำนาญการ
นายพงษ์ศักดิ์ มิ่งขวัญ ผอ.กลุ่มกฎหมายและคดี
กลุ่มกฎหมายและคดี